Ads 468x60px

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ระบบโดเมนเนม (Domain Name System) คืออะไร ?

ระบบโดเมนเนม (Domain Name System) คืออะไร ?

  • ระบบโดเมนเนม (Domain Name System) เป็นการตั้งชื่อเป็นตัวอักษรเพื่อใช้แทน IP Address ทำให้ง่ายต่อการจดจำ เช่นหมายเลข IP Address 203.146.15.9 แทนที่ด้วยโดเมนเนมชื่อ moe.go.th
  • เรา เรียกการแทนที่ IP ด้วยโดเมนเนมว่า Name-to-IP Address Mapping ซึ่งช่วยให้สามารถเรียกชื่อเว็บไซต์ได้สะดวกขึ้นโดยไม่ต้องจำตัวเลข กลไก Name-to-IP Address มีการกำหนดฐานข้อมูลส่วนกลางในการจัดการแก้ไขฐานข้อมูลให้ เพื่อป้องกันการตั้งชื่อซ้ำกัน
  • การตั้งชื่อโดเมนเนมแบบเดิม เป็น แบบไม่มีลำดับชั้น คือไม่สามารถแยกย่อยเป็นส่วน ๆ ได้ เรียกว่า Name Space ทำให้มีปัญหามากเนื่องจากฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การค้นหายาก จึงได้มีการพัฒนาข้อมูลแบบ Name Space ใหม่ให้เป็นแบบลำดับชั้น (Hierarchical Structure) ที่เรียกว่า Domain Name System (DNS) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีการบอกประเภทขององค์การ หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่
  • Domain Name System (DNS) จึงหมายถึงระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น กลไกหลักของระบบ DNS ทำหน้าที่แปลงชื่อและหมายเลข IP Address หรือทำกลับกันได้ โดยระบบ DNS จะมีการกำหนด Name Space ที่มีกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน มีการเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลแบบกระจาย และทำงานในลักษณะไคลแอนด์ / เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยมี DNS Server ทำหน้าที่ให้บริการค้นชื่อและแปลงข้อมูลให้ตามที่เครื่องลูกข่าย (DNS Client) ร้องขอมา การทำงานแบบไคลแอนด์ / เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) นี้ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น DNS สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไคลแอนด์ของ DNS ในเครื่องเดียวกัน
โดเมนเนมระดับบนสุด (Top-Level Domains)
โด เมนเนมระดับบนสุด (Top-Lever Domains) เป็นการกำหนดชื่อโดเมนเนมให้มีความหมายในการบอกประเภทขององค์การ หรือชื่อของประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Organization Domains โดเมนเนมระดับสูงสุดซึ่งแสดงถึงองค์การหรือหน่วยงาน
Domain Name
ความหมาย
com
เครือข่ายของเอกชน
edu
เครือข่ายของหน่วยงานการศึกษา
gov
เครือข่ายของหน่วยงานรัฐบาล
mil
เครือข่ายของหน่วยงานทหาร
net
เครือข่ายของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
org
เครือข่ายขององค์การที่ไม่มุ่งหวังกำไร
2. Geographical Domains โดเมนเนมระดับสูงสุดซึ่งแบ่งตามลักษณะภูมิศาสตร์ หรือประเทศ
Domain Name
ความหมาย
at
ออสเตรีย
au
ออสเตรเลีย
ca
แคนาดา
ch
สวิทตเซอร์แลนด
cn
สาธารณรัฐประชาชนจีน
de
เยอรมัน
dk
เดนมาร์ก
fr
ฝรั่งเศส
jp
ญี่ปุ่น
nz
นิวซีแลนด์
th
ไทย
uk
สหราชอาณาจักร (อังกฤษ)
us
สหรัฐอเมริกา
3. นามสกุลนั้นมีไว้เพื่อบ่งบอกกิจกรรมของเว็บไซต์นั้น ๆ ว่าเกี่ยวข้องกับอะไร ซึ่งบางทีก็ไม่สามารถบ่งบอกได้ชัดเจนนัก เนื่องจากบางนามสกุล เช่น .com, .net ไม่ได้มีข้อบังคับชัดเจน ว่าจะนามสกุลใด ๆ จะต้องใช้เพื่อกิจกรรมนั้น ๆ เพียงเท่านั้น แต่โดยหลักทั่วไปของการจดตามนามสกุลต่าง ๆ นั้นจะสามารถแบ่งได้คร่าว ๆ ดังนี้

.com ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า (.com = Company )
.net (Network) ใช้กับเว็บไซต์ขององค์กรใด หรือบริษัทใด ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับ Internet หรือ Network
.org (Organization) ใช้สำหรับเว็บไซต์องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร เช่น สมาคม หรือมูลนิธิ
.biz ใช้สำหรับเว็บไซต์ขององค์กรที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า
.info ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลเป็นหลัก
.co.th สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในไทย
.in.th สำหรับหน่วยงานทุกประเภท และบุคคลทั่วไป
.ac.th สำหรับสถาบันการศึกษา
.go.th สำหรับการใช้ของภาครัฐบาล
.net.th สำหรับนิติบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้ง 3 แบบ ตาม
.or.th สำหรับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร
.mi.th สำหรับหน่วยงานทางทหาร

ในปัจจุบัน ได้มีนามสกุลต่าง ๆ ออกมามากมาย เช่น .it, .ws, .tv แต่ความนิยมการจดทะเบียน ก็ยังคงเป็น .com, .net, .org, .co.th, .in.th เป็นส่วนใหญ่
โดเมนเนมในประเทศไทย
ประเทศ ไทยใช้ .th เป็นโดเมนประจำประเทศ โดยมีโดเมนย่อย (Subdomain) 5 โดเมน ได้แก่ .or, .ac, .go, .co และ .net ดังตารางดังต่อไปนี้ คือ
Domain Name
ความหมาย
or
องค์การไม่แสวงผลกำไร
ac
สถาบันการศึกษา
go
หน่วยงานราชการ
co
หน่วยงานเอกชน
net
องค์การที่ให้บริการเครือข่าย

การลงทะเบียนขอชื่อโดเมนเนม
การลงทะเบียนขอชื่อโดเมนเนมในประเทศไทยทำได้ 2 ทางเลือก คือ
  1. จด ทะเบียนที่ใช้ชื่อแบบ xxx.xx.th สามารถขอจดทะเบียนได้ที่ Thailand Network Information Center หรือ ThNIC หรือที่เว็บไซต์ www.thnic.net โดยต้องแนบเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนบริษัทในการขอจดทะเบียนด้วย มีค่าธรรมเนียม 2 ปีแรก 1,600 บาท และต่ออายุปีต่อไปปีละ 800 บาท
  2. จด ทะเบียนที่ใช้ชื่อเป็น .com หรือ .net หรือแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ของประเทศไทย ต้องติดต่อขอจดทะเบียนโดยตรงที่หน่วยงานที่เป็นตัวแทนของ InterNIC (Internet Network Information Center) หรือที่เว็บไซต์ www.internic.net มีค่าธรรมเนียม 2 ปีแรก 70 เหรียญสหรัฐ ซึ่งการจดทะเบียนแบบนี้ ต้องแจ้งให้ผู้รับจดทะเบียนทั้ง ThNIC และ InterNIC ทราบด้วยว่าใครเป็นผู้ดูแลเซิร์ฟเวอร์
 
ขอขอบคุณบทความจาก http://www.krusuree.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blogger templates