คำว่า
VPN หรือชื่อเต็มๆ ว่า Virtual Private Network นั้นถ้าแปลกันตรงๆ
เลยก็น่าจะประมาณว่าเครือข่ายเสมือนในแบบส่วนตัว
มาถึงตรงนี้อาจจะมีคำถามอยู่เต็มหัวเลยว่า อ้าว... ส่วนตัวอย่างไร...
แล้วมีประโยชน์อย่างไร... มันใช้อย่างไรเหรอ...
ทุกข้อสงสัยที่คุณผู้อ่านคิดอยู่ ขอให้ปิดคำถามเหล่านั้นไปก่อน
เมื่ออ่านไปจนจบแล้ว ผมคิดว่าคุณจะเข้าใจโครงสร้างแบบ VPN นี้แน่นอนครับ
|
เริ่มจาก VPN มีความหมายว่าอย่างไร
|
VPN
(Virtual Private Network) หมายถึงเครือข่ายเสมือนส่วนตัว (Private)
ที่ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ผ่านเครือข่ายสาธารณะอย่างอินเทอร์เน็ต
ซึ่งประหยัดกว่าการเชื่อมต่อแบบ Leased Line หรือ Frame Relay
เป็นอย่างมาก
โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นด้วยการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption
Data) บนเน็ตเวิร์ค
และเมื่อส่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางก็จะมีการถอดรหัส (Decryption Data)
ออกมา ผ่านการเชื่อมต่อ VPN ที่เรียกว่า Tunneling
เหมือนเป็นอุโมงค์ส่งข้อมูลซึ่งกันและกันนั่นเองครับ
|
รูปแบบในการทำงานของ VPN
|
แบบแรก Remote-Access หรือ VPDN
|
เป็น
ลักษณะที่มีการเชื่อมต่อจากภายนอกเข้าสู่หน่วยงาน หรือองค์กรของตนเอง
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไปต่างจังหวัด หรืออยู่นอกบริษัท
แล้วมีความต้องการติดต่อสื่อสารทำงานเสมือนอยู่ในบริษัท
เราก็สามารถที่จะทำการไดอัลอัพผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาที่บริษัทได้
โดยที่บริษัทจะมีการสร้างระบบที่สามารถรองรับการทำงานบนเครือข่ายที่เรียก
ว่า NAS (Network Access Server) ซึ่งถูกกำหนดบนอุปกรณ์เราเตอร์ หรือ VPN
Device นั่นเอง
และเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราที่จะแอสเซสเข้าไปในระบบก็จะต้องมีซอฟท์แวร์
VPN Client
สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในองค์กรหรือหน่วยงานนั้น
นั่นก็หมายความว่าถึงแม้ว่าเราจะอยู่ที่ไหนบนโลกนี้
ขอให้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา
เสมือนอยู่ในออฟฟิศของคุณเลยทีเดียว
|
แบบที่สองเป็นแบบ Site-to-Site
|
เป็นการ
เชื่อมต่อระหว่างสาขา หรือเครือข่ายหลายๆเครือข่ายเข้าด้วยกัน
เช่นบริษัทสำนักงานใหญ่ซินเน็คประเทศไทยจำกัดอยู่ที่กรุงเทพฯ
ก็สามารถติดต่อสื่อสารผ่านทางอุโมงค์ของข้อมูล (Tunneling)
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนี้ไปยังสาขาต่างๆ ทั่วประเทศนี้ได้
|
จากรูป
เป็นตัวอย่างของการเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่ายแบบ VPN จำนวน 2
สาขาที่เชื่อมต่อกันอยู่
ผ่านท่อลำเลียงข้อมูลที่ถูกสร้างอย่างพิเศษโดยมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ถูก
กำหนดอยู่ในฝั่ง Router ทั้งสองฝั่ง (บนอุปกรณ์ Router
จะต้องรองรับเทคโนโลยี VPN ด้วย ถ้าไม่รองรับต้องหาอุปกรณ์ VPN Device
มาเชื่อมต่อกับตัว Router นี้)
|
โดยหลัก
การทำงานของ VPN แบบ Site-to-Site นี้จะเริ่มจาก การกำหนด IP
ให้กับวงแลนในแต่ละวงเป็น Private IP แล้วถ้าวงแลน A
ได้มีการติดต่อเข้ามายังวงแลน B เครื่องลูกจากวงแลน A
จะทำการเชื่อมต่อไปยัง VPN Server B โดยจะมีการถาม User Name และ
Password ซึ่งถ้าถูกต้อง VPN Server B
จะทำการจ่ายไอพีแอดเดรสให้กับเครื่องลูกในวงแลน A ที่ร้องขอ
พร้อมกับทำการสร้าง Tunneling ระหว่างวงแลน A กับ VPN Server B
หลักการเพียงเท่านี้ก็จะทำให้เครือข่ายทั้งสองวง
สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไม่มีปัญหา
|
นี่คือ
หลักการง่ายๆ สำหรับการสร้าง VPN บนเครือข่ายที่คุณต้องการ
ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ หรือสวิตซ์ต่างหันมาให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยี
VPN กันมากขึ้นแล้ว
ถ้าคุณสนใจก็อย่าลืมสังเกตว่าอุปกรณ์เหล่านั้นมีการรองรับฟีเจอร์บน
เทคโนโลยี VPN หรือไม่นะครับ
|
วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554
เครือข่ายส่วนตัวในแบบ VPN (Virtual Private Network)
เครือข่ายส่วนตัวในแบบ VPN (Virtual Private Network)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น