Ads 468x60px

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ค่า TTL เมื่อคุณใช้คำสั่ง ping คืออะไร ?

ค่า TTL เมื่อคุณใช้คำสั่ง ping คืออะไร





  C:\Documents and Settings\f>ping 61.7.152.115 -t                                 
  Pinging 61.7.152.115 with 32 bytes of data:
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=17ms TTL=53
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=21ms TTL=53
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=23ms TTL=53
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=62ms TTL=53
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=21ms TTL=53
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=54ms TTL=53
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=48ms TTL=53
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=50ms TTL=53
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=34ms TTL=53
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=23ms TTL=53
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=37ms TTL=53
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=101ms TTL=53
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=32ms TTL=53
  Reply from 61.7.152.115: bytes=32 time=52ms TTL=53
  Ping statistics for 61.7.152.115:

  Packets: Sent = 14, Received = 14, Lost = 0 (0% loss),

  Approximate round trip times in milli-seconds:

  Minimum = 17ms, Maximum = 101ms, Average = 41ms


TTL ใช้บอกจำนวน Router หรือ Network ซึ่ง Traffic ทำการกระโดดข้าม ซึ่งจะต่างกันตามนี้ครับ
TTL 64 จะเป็น ระบบ Linux หรือ Router ขนาดเล็กๆ
TTL 128 เป็น OS พวก X86 เช่น Windows ต่างๆ
TTL 254 เป็น Router ขนาดกลาง และ ใหญ่ ครับ
ค่า TTL จะลดลงตามจำนวน Router ที่มันผ่านครับ
เช่น คุณปิงจากบ้านไปยังจุดหมายปลายทาง ดูตัวอย่างข้างล่างนะครับ
1. คุณปิงจากเครื่องคุณไปยัง เครื่องในวงแลนเดียวกัน ไม่มีการกระโดดผ่าน Router เนื่องจากเครื่องของคุณ และ ปลายทางเป็น OS X86 คุณจะได้ ค่า TTL = 128-0 = 128
2. คุณปิงจากเครื่องคุณไปยัง เครื่องต่างวงแลนกัน มีการกระโดดผ่าน Router 2 ตัว เนื่องจากเครื่องของคุณ และ ปลายทางเป็น OS X86 คุณจะได้ ค่า TTL = 128-2 = 126
3. คุณปิงจากเครื่องคุณไปยัง เครื่องในวงแลนเดียวกัน ไม่มีการกระโดดผ่าน Router เครื่องปลายทางเป็น Linux คุณจะได้ ค่า TTL = 64-0 = 64
4. คุณปิงจากเครื่องคุณไปยัง เครื่องต่างวงแลนกัน มีการกระโดดผ่าน Router 1 ตัว เครื่องปลายทางเป็น Linux คุณจะได้ ค่า TTL = 64-1 = 63
5. คุณปิงจากเครื่องคุณไปยัง Router ในวงแลนเดียวกัน คุณจะได้ ค่า TTL = 254-0 = 254
6. คุณปิงจากเครื่องคุณไปยัง Router ของเพื่อนคุณซึ่งเป็น Router ขนาดเล็ก (Linux Embeded) มีการกระโดดผ่าน 6 Router จะได้ ค่า TTL = 64-6 = 58
7.คุณปิงจากเครื่องคุณไปยัง Router ของ ISP มีการกระโดดข้าม 4 ครั้ง คุณจะได้ ค่า TTL = 254-4 = 250
แล้ว ก็ ถ้า ค่า TTL ต่ำจนถึง จำนวนหนึ่ง ระบบจะตัดสัญญาณทิ้งทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า TTL Error หรือ Request time out ครับ
เมื่อค่า TTL มากหมายถึงดีกว่าเพราะว่าสามารถส่งผ่าน HUP ได้มากกว่าคับ...

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blogger templates