Ads 468x60px

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

รวมคำสั่ง Unix Solaris ตอนที่ 3 (การ set ค่า nvram ขณะอยู่บน OS solaris)

การ set ค่า nvram ขณะอยู่บน OS solaris

# eeprom ตัวแปร=newvalue เช่น
# eeprom diag-switch?=true คำสั่งเกี่ยว File & Folder
# pwd ดูว่าเราอยู่ path/directory ไหน
# touch ไฟล์ สร้าง file
# mkdir dir สร้าง directory
# cp เป็นการ copy file
# cp aaa bbb เป็นการ สำเนา ไฟล์ aaa ไว้ 1 ฉบับ ชื่อไฟล์ว่า bbb
# cp –r เป็นการ copy directory
# mv aaa bbb เปลี่ยนชื่อ ไฟล์ aaa เป็น ไฟล์ bbb
# rm file ลบไฟล์
# rm –r dir ลบ directory
# wc file นับจำนวนบรรทัด , คำ ในไฟล์นั้นๆ 

การเปลี่ยน Permission
# chmod 777 file or folder เป็นการเปลี่ยน permission ของ file หรือ folder นั้นๆ โดย ลำดับของตัวเลขเป็นดังนี้  user(owner)groupother
# chmod u+w file or folder  เพิ่มว่าให้ owner สามารถ write ได้
# chmod g+x file or folder 
เพิ่มว่าให้ group สามารถ execute ได้
# chmod o+w file or folder เพิ่มว่าให้ other สามารถ write ได้
# chmod ugo+x file or folder เพิ่มว่าให้ทั้ง owner group other สามารถ write ได้

ACL (Acess Control List)
คือการกำหนดให้บาง user สามารถเข้ามา access file,folder ได้ตามสิทธิ์ที่เรากำหนดให้
# getfacl file เป็นการดูว่าใครเป็นเจ้าของ file และใครสามารถเข้ามาใช้ file นี้ได้ บ้าง
# setfacl –m mask:6 file  กำหนดค่า mask ของ file ว่าให้ เป็น 6 คือ 110 คือ read/write ได้ค่า mask มีความสัมพันธ์กับ permission ของ group
# setfacl –m user:user8:6 file  เป็นการอนุญาต ให้ usesr8 เข้ามาใช้งาน(read/write) file นี้ได้ โดยให้ดูด้วยว่า ค่า mask (-m) ของ  file นี้สามารถ read/write ได้จริงหรือไม่
# setfacl –d user:user8 file  เป็นการยกเลิก user8 ออกจากการใช้สิทธิ์ access file


ดูขนาด File & Directory
# du  /dir


คำสั่งเกี่ยวกับเวลา (Time)
File ที่เกี่ยวข้อง

# date เป็นคำสั่งในการแสดงวันที่และเวลา
# date
เดือน วันที่ ชั่วโมง นาที ปีค.ศ. เป็นการตั้งวันที่และเวลา เช่น# date 080614302004 
# cal  month year ดูปฏิทิน เดือนปีนั้นๆ
ารสั่งให้ระบบทำงานตามคำสั่งในเวลาที่ต้องการ
# at time am or pm เช่น
# at 9:30 am                             จะมี promt ขึ้นให้ใส่คำสังที่ต้องการให้ทำ
   >banner new 9:30 am           โดยคำสั่งนี้จะทำเพียงครั้งเดียวจบ
   >ctrl+d                                   เมื่อสิ้นสุดคำสั่งที่ต้องการให้กด ctrl+d เพื่อออกจาก promt

# crontab –e  เป็นการสั่งคำสั่งเข้าไปใน File crontab เพื่อกำหนดการทำงานล่วงหน้าตามเวลาที่ต้องการ
# crontab –e   จะมี promt ขั้นมา ให้ใส่
     > นาที  ชั่วโมง  วันที่  เดือน วันของสัปดาห์(0-6) คำสั่ง เช่น
   
 > 30 9 * * 0  who    ทำคำสั่ง who ทุกวันอาทิตย์ เวลา 9:30

     >ctrl+d                    ออก
 
คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการ Disk

 File ที่เกี่ยวข้อง
 /etc/format.dat เก็บรายละเอียดการแบ่ง patition
 /dev/dsk, /dev/md/dsk, /dev/vx/dsk  เก็บชื่อ disk device
# format ดูรายการ Harddisk ที่ต่ออยู่กับเครื่องทั้งหมด
# format cxtxdx  ดูเฉพาะ disk ก้อนนั้นๆ
# newfs /dev/rdsk/cxtxdxsx  ล้างและจัดเรียง block ของ Harddisk ใหม่ (ข้อมูลหาย)
#
newfs  /dev/md/rdsk/d0 สำหรับ metadevice ของ disksuit
# newfs /dev/vx/rdsk/mydg/vol01 สำหรับ volume disk
# prtvtoc /dev/dsk/cxtxdxs2 /vtoc  เป็นการจัดเก็บ vtoc ของ disk ก้อนนั้นๆ (ต้องเป็น s2 เท่านั้น)
# fmthard –s /vtoc /dev/rdsk/cxtxdxs2 เป็นการเขียน vtoc ลง disk อีกก้อน(ขนาด disk ต้องเท่ากันหรือมากกว่า)
# fsck –F ufs /dev/rdsk/cxtxdxsx เป็นการ file systemcheck เพื่อให้ disk ตรวจสอบจุดเสียหายต่างๆ
# df –k  ดูว่า มีการmount disk ก้อนใดไปใช้บ้าง mountไว้ที่ไหน ใช้เนื้อที่ไปเท่าไร และเหลือเนื้อที่เท่าไร (kb)

การ clone disk / slice
# dd if=/dev/rdsk/cxtxdxs2 of=/dev/rdsk/cxtxdxs2  bs=1048576
# ufsdump –f /dev/dsk/cxtxdxsx |(cd /pathmountdisk2 ; ufsrestore rf -)

คำสั่งเกี่ยวกับ Networks
File ที่เกี่ยวข้อง
- /etc/nodename เก็บชื่อเครื่อง
- /etc/hosts เก็บชื่อเครื่องและ IP Address
- /etc/hostname.hme0 หรือ network card ชื่ออื่นๆ  เก็บชื่อเครื่องประจำ network card นั้นๆ
- /etc/netmasks เก็บเลข netmask
- /etc/ethers เก็บ  mac address
* การเปลี่ยนชื่อเครื่อง ต้องเปลี่ยนทั้ง 3 ไฟล์คือ /etc/nodename , /etc/hosts , /etc/hostname.hme0
- Folder /etc/inet ทั้ง Folder
- /etc/inet/inetd.conf  ** เปิดปิดการ telnet และ FTP และดูวิธีการ start , stop deamon ได้ที่ไฟล์นี้
  เมื่อเปลี่ยนแปลง config ในไฟล์นี้แล้วต้องทำการ # pkill –HUP inetd ทุกครั้ง
- /etc/services เป็นไฟล์ในการเก็บ Port ในการ login ต่างๆ
- /etc/rpc เก็บโปรแกรมที่ใช้ได้กับ Port sunrpc (port 111)
Deamon ที่ใช้
In.telnetd  , inetd
# pkill -1 inetd
# /usr/sbin/in.telnetd    เป็นคำสั่งในการ start deamon
# /etc/sbin/in.rarpd       เป็น deamon ของ arp และ rarp

# pkill –HUP inetd  เป็นการ kill process นั้นแล้ว start process นั้นขึ้นมาใหม่
# ifconfig hme1 plumb IP  netmask + boardcast + up เป็นการติดตั้ง nic ใหม่ ใส่ ip ด้วย
# ifconfig hme1 unplumb คื่อการถอดการใช้งาน interface card นั้นออกจากระบบ
# ifconfig –a  ดู IP เครื่องเรา Interface เครื่องเรา เช่น hme0, qfe0,le0 เป็นต้น(NIC)
# ifconfig hme0 down  คือการ drop ip และ interface นั้นๆ ลงชั่วคราว
# ifconfig hme0 up คือการ up ip และ interface นั้นขึ้นมาใช้งาน
# ifconfig hme0 ether newmacaddress  เปลี่ยน mac address
# ifconfig hme0:1 plumb 202.20.105.28 up สร้าง virtual  interface
# ifconfig hme0 removeif 202.20.105.28 ลบ virtual interface

การเปลี่ยน IP ของเครื่อง
# ifconfig hme0 inet 202.20.105.28 netmask 255.255.255.0 broadcast+up
คำว่า broadcast+up คือการให้ broadcast แปรผันตามค่า netmask
# snoop hostname1 hostname2 เช่น
# snoop sun1 sun2  เป็นคำสั่งในการดูการทำงานแบบ OSI model ระหว่าง 2 เครื่องนั้นๆ
# snoop –v sun1 sun2 ดูการทำงาน OSI แบบ ละเอียด
# snoop –o /filename สั่งให้เก็บ log ของการ ping หรือการ spray ไว้ที่ไฟล์ที่กำหนด
# snoop –I /filename –v |more เป็นการดู log ที่เก็บไว้
# snoop –V ดู OSI แบบคร่าว
# snoop tcp  การดูเฉพาะสิ่งที่ต้องการ
# snoop port telnet            “
# snoop port 23                “
# ping ipเครื่องปลายทาง เป็นการทำสอบการเชื่อมต่อ network ระหว่างเครื่องเรา กับเครื่องปลายทาง
# spray hostname or IP  คล้ายคำสั่ง ping แต่จะให้รายละเอียดมากกว่า
# rpcinfo –d sprayd 1 เป็นการหยุดการทำงาน sprayd ลงชั่วคราว
# arp –a  ดูตาราง mac address ที่เก็บอยู่ในเครื่องเรา
# arp –s hostname mac address  คือการ add ชื่อเครื่องและ maxaddress เข้าในตารางของเครื่องเรา
# arp –d hostname  เป็นการลบชื่อ host นั้นออกจากเครื่องเรา
# netstat –p ดู max address ทุกเครื่องที่เห็น
# netstat –d ดูว่าเครื่องเปิด port อะไรอยู่บ้าง
# netstat –I time ดูการทำงาน ของ NIC  time คือดูทุกๆ กี่วินาที
# netstat –r คือการดู rounting table

ชื่อของ network interface card ที่ใช้กับเครื่อง sun
- ATM  =  .bax0…1….2
- Ethernet = .le , qe0…1…2
- Fast Ethernet = hme, eri0…1…2
- Quatfast Ethernet = qfe0…1…2
- FDDI = nf0…1…2
- Tokenring = tr0…1…2
- Gigabit Ethernet = ge0…1…2
ARP = คือการแปลงจาก IP เป็น Mac address
RARP = คือการแปลงจาก Mac address เป็น IP
Tape management

Tape Management


Tape drive มี path ของ device ดังนี้คือ
- /dev/rmt/0 , /dev/rmt/1 , /dev/rmt/2 ………แล้วแต่การเชื่อมต่อ

ขนาดของ Media (ม้วนเทป) ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 3 ขนาดคือ
- Tape 4 มิลลิเมตร คือมีความกว้างของหน้า Tape 4 มิลลิเมตร ใช้กับ Drive ขนาด 4 มิลลิเมตร เช่น
 
DDS, DDS2,DDS3,DDS4
- Tape 8 มิลลิเมตร คือมีความกว้างของหน้า Tape 8  มิลลิเมตร ใช้กับ Drive ขนาด 8 มิลลิเมตร
- Tape 16 มิลลิเมตร คือมีความกว้างของหน้า Tape 16  มิลลิเมตร ใช้กับ Drive ขนาด  16 มิลลิเมตร เช่น DLT ต่างๆ

การเขียนข้อมูลของ Tape จะเขียนเป็น block โดยจะเขียนเรียงกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสิ้นสุดความยาวของม้วนการทำคำสั่ง 1 ครั้งจะเขียนเป็น 1 block ดังภาพ



การกรอ Tape ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
# mt stat เป็นการดูสถานะของ  Tape ว่าตอนนี้หัวอ่านอยู่ที่ block ใดของ Tape
# mt fsf 1 เป็นการ forward หัวอ่าน Tape ไปข้างหน้าจาก block เดิม 1 block
# mt rew เป็นการ rewind หัวอ่าน Tape ให้กลับไปที่ต้นม้วน
# mt off
 เป็นการ Eject media ออกจาก Tape drive
# mt eom เป็นการforwardหัวอ่านไปยังท้ายสุดของข้อมูลที่มี เพื่อเตรียมเขียนข้อมูลต่อไปได้โดยไม่ทับข้อมูลเดิม

Format ที่ใช้คำสั่ง tar
การ Backup
# tar cvf /dev/rmt/0 /file,folder เป็นการ backup file , folder ขึ้นสู่  Tape เมื่อเขียนข้อมูลเสร็จแล้วหัวอ่านจะ  rewind กลับไปต้นม้วน
# tar cvf /dev/rmt/0n /file,folder
เป็นการ backup file, folder ขึ้นสู่  Tape โดยหัวอ่านจะหยุดอยู่ที่ที่สิ้นสุด block  นั้นๆ ไม่ rewind กลับไปต้นม้วน (ใส่ n คือ no rewind)

การดูข้อมูลที่อยู่บน Tape
# tar tvf /dev/rmt/0  เป็นการดูข้อมูลที่อยู่บน  Tape block นั้นๆ

การ restore ข้อมูล
# tar xvf /dev/rmt/0 เป็นการดึงข้อมูลจาก Tape ลงสู่ directory ที่อยู่ ณ ขณะนั้น (restore)

Fomat ที่ใช้คำสั่ง  ufsdump

การ Backup
# ufsdump 0ufc /dev/rmt/0 /file,folder  เป็นการ Backup file,folder ขึ้นสู่  Tape และเมื่อเขียนข้อมูลเสร็จ Tape จะ rewind กลับสู่ต้นม้วน
# ufsdump 0ufc /dev/rmt/0n /file,folder  เป็นการ Backup file,folder ขึ้นสู่  Tape เมื่อเขียนข้อมูลเสร็จจะไม่มีการ rewind Tape หัวอ่านจะหยุดอยู่ ณ ที่ที่สิ้นสุดข้อมูลนั้นๆ

กรรดูข้อมูลบน Tape
# ufsrestore tf  /dev/rmt/0 เป็นการดูข้อมูลใน block นั้นๆ

การ restore ข้อมูล
# ufsrestore rf /dev/rmt/0 เป็นการ restore ข้อมูลใน block นั้นๆ ทั้งหมดลงสู่ directory ที่อยู่ ณ ขณะนั้น
# ufsrestore –i /dev/rmt/0 จะมี promt ขึ้นให้(เข้าสู่ ข้อมูลบน  Tape แล้ว)
>./siwanat
>ls
yao  file1 file2
เป็นการเข้าไปดูข้อมูลบน Tape ในแต่ละ block นั้นๆ  ได้ โดย การ cd , ls และเมื่อต้องการ restore file ใดๆ สามารถใช้คำสั่ง add file1  เพื่อ mark file นั้นๆ ไว้ เมื่อ mark หรือเลือก file ที่ต้องการครบแล้ว สามารถ ดูไฟล์ที่เรา mark ไว้ได้ด้วยคำสั่ง marked จะสังเกตเห็น  file ที่เรา mark ไว้มีเครื่องหมาย * ข้างหน้า และเมื่อต้องการ restore สามารถทำได้ด้วยคำสั่ง extract   ไฟล์ที่เรา mark ไว้ก็จะถูก restore ลงสู่ directory นั้นๆ

Option
ของคำสั่ง ufsdump
-  0 – 6
เป็น level ในการ backup โดยการ Backup แต่ละ level จะ  backup หลังจาก level ที่ต่ำกว่าเคยทำการ backup ไปแล้ว เช่น วันจันทร์ backup ด้วย level 1 วันพุธ backup ด้วย level 2 ดังนั้น วันพุธจะเป็นการ backup ข้อมูลหลังจากวันจันทร์เป็นต้นมา
-
u คือ update
- f
คือการอ้าง path ของ Tape drive     

- c คือ compact คือมีการบีบอัดข้อมูลด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blogger templates